ภาวะเด็กติด เกม ควรสังเกต และมีแนวทางแก้ไขอย่างไรเมื่อลูกติดเกม

ในปัจจุบันนั้น เกม ออนไลน์ และเกมมือถือต่างก็เข้ามามีอิทธิพลเป็นอย่างมาก ในชีวิตประจำวัน ซึ่งต้องยอมรับว่าข้อดีของเกมเล่นเกมมีมากมายเลยทีเดียว แต่ก็ต้องยอมรับอีกเช่นกันว่า หากเล่นมากๆ หรือละเลยให้ลูกหลานของคุณติดอยู่กับมือถือ จนบางครั้งไม่ได้วางมือเลย นั่นอาจจะส่งผลให้ลูกของคุณ เป็นเด็กติดเกมนั่นเอง 

เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะมาบอกวิธีสังเกตว่าควรสังเกตอย่างไร และบอกแนวทางการแก้ไขว่า คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไรเมื่อลูกของคุณเข้าขั้นติดเกม เอาเป็นว่าปัญหานี้มีแนวทางแก้ไขที่ดีมากมาย จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย

สังเกตอาการของคนติด เกม ควรสังเกตอย่างไร?

1. อาการเริ่มต้นนั้นเด็กๆ จะใช้เวลาเล่นเกมเป็นเวลานาน เล่นไม่รู้จักเวลา ไม่สามารถควบคุมตนเองให้เล่นในเวลาที่กำหนดได้ 

2. ลูกของคุณเริ่มมีความต้องการที่จะเล่นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อยากเล่นเกมตลอดเวลา อยากเล่นแต่ เกมทั้งหมด ทั้งวันทั้งคืน

3. เริ่มมีอาการหงุดหงิด อาละวาด และเริ่มมีการทำลายข้าวของ กระวนกระวาย กระสับกระส่าย หากไม่ได้เล่นเกมในแบบที่เขาต้องการ

4. หยุดการเล่นเกมได้ยาก ไม่สามารถหยุดเล่นเกมได้ทันที

5. แยกตัว ไม่ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวหรือสังคม สูญเสียความสนใจในชีวิตประจำวัน และงานอดิเรกที่เคยทำอื่น ๆ

6. เล่นเกมมากต่อเนื่องไม่ยอมหลับ ยอมนอน

7.หลอกพ่อแม่ ผู้ปกครองหรือผู้ขโมยเงินเพื่อไปเติมเกม

8. มีผลกระทบต่อการเรียน การทำงาน และหน้าที่ความรับผิดชอบ ซึ่งเด็กจะเริ่มมีพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น โกหก ทะเลาะกับคนรอบข้าง อารมณ์ร้าย และไม่ค่อยเฮฮา อาการนี้ถือว่าเข้าขั้นรุนแรง

แนวทางการแก้ไขการติด เกม แก้ไขอย่างไรดี?

เมื่อท่านสังเกตอาการเบื้องต้นแล้วหากพ่อ แม่ สงสัยว่าลูกติด เกมฟรีออนไลน์ หรือเกมบนมือถือต่างๆ และไม่สามารถช่วยเหลือลูกได้ ควรพาลูกมาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการประเมินบำบัดรักษา และช่วยเหลือเพิ่มเติม หรืออาจจะทำตามแนวทางแก้ไขต่อไปนี้

1. ไม่ให้ลูกเอาคอมพิวเตอร์ไว้นห้องนอน หรือห้องส่วนตัวเด็ดขาด ควรวางไว้ในสถานที่ที่ผู้ปกครองสามารถเฝ้าดูได้อย่างใกล้ชิด 

2. มีการเฝ้าสังเกตุเวลาลูกเล่นโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์

3. แนะนำเกมที่น่าสนใจ และเลือกเล่นเกมที่ดี และตรวจสอบว่าลูกของคุณเล่นเกมที่เหมาะสมกับอายุหรือไม่

4. กำหนดช่วงเวลาการเล่นเกมที่ชัดเจน เช่น ห้ามเล่นเกม ระหว่างรับประทานอาหาร เป็นต้น

5. พ่อแม่ต้องคอยหากิจกรรมทำร่วมกับลูก เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ ออกกำลังกาย เป็นต้น เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว

7. ไม่ใช้เกมเลี้ยงเด็ก เช่น เมื่อพ่อแม่จะทำงานแต่ลูกก่อกวน คุณไม่ควรส่งโทรศัพท์มือถือเพื่อให้ลูกเล่น เพื่อหยุดลูกไม่ให้ก่อกวน เป็นต้น